เชื่อว่าหลายคนอาจมีโอกาสได้ยินกันมาบ้าง ว่าในปัจจุบัน “เทคโนโลยีควอนตัม” กำลังอยู่ในจุดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด และกำลังถูกนำไปทดลองใช้ในหลายด้านขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุดนี้เอง ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม และกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร นักวิทยาศาสตร์ก็เพิ่งจะออกมาเปิดตัวการพัฒนา ระบบ “การตรวจจับควอนตัม” รุ่นใหม่ ซึ่งจะช่วยให้การสแกนหาสิ่งที่อยู่ใต้ดิน ราวกับหลุดมาจากในหนังเลย
ระบบตัวใหม่นี้มีชื่อว่า “เครื่องวัดแรงโน้มถ่วงควอนตัม” (Quantum gravity gradiometer) ระบบเซนเซอร์แรงโน้มถ่วงรุ่นใหม่ ที่ถูกระบุว่าถูกออกแบบมาให้สำรวจโครงสร้างใต้ดินที่ซับซ้อนได้ ในราคาถูกและมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคยเป็นมา
โดยเครื่องวัดแรงโน้มถ่วงควอนตัมนั้น ต่างจากเครื่องวัดแรงโน้มถ่วงทั่วไปที่ถูกใช้งานในปัจจุบันตรงที่
ในขณะที่เทคโนโลยีเก่าจะต้องใช้เวลานานในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแรงโน้มถ่วง แถมต้องมีการปรับระบบอยู่บ่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป และอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ง่ายหากมีการสั่นสะเทือนในบริเวณใกล้เคียง
เครื่องวัดแรงโน้มถ่วงควอนตัม จะสามารถวัดการเปลี่ยนแปลง ในสนามแรงโน้มถ่วงจากวัตถุได้ในเวลาเร็วกว่ามาก แถมยังละเอียดพอที่จะจับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแม้ในเวลาไม่กี่นาทีได้
ซึ่งทำให้มันแถมยังสามารถทำงานได้แม้วัตถุดังกล่าวมีขนาดและองค์ประกอบต่างกันมากๆ และสามารถนำไปใช้ได้หลากหลายทั้งในการ
– ลดต้นทุนและความล่าช้าในการก่อสร้าง
– ปรับปรุงการทำนายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่นภูเขาไฟระเบิด
– ช่วยค้นหาทรัพยากรธรรมชาติ
– ทำความเข้าใจสิ่งก่อสร้างทางโบราณคดีโดยไม่ต้องขุดค้น
“ความสำเร็จของระบบนี้เป็นดั่ง ‘ช่วงเวลาของเอดิสัน’ ที่อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสังคม ความเข้าใจของมนุษย์ หรือแม้แต่เศรษฐกิจเลย” คุณ Kai Bongs หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีควอนตัมของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมกล่าว
และก็ไม่แน่เหมือนว่าว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราก็อาจจะได้เห็นข่าวการค้นพบที่น่าสนใจซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องวัดแรงโน้มถ่วงควอนตัมก็เป็นได้
ที่มา
www.birmingham.ac.uk/news/latest/2022/02/sensor-breakthrough-paves-way-for-groundbreaking-map-of-world-under-earth-surface.aspx
www.sciencedaily.com/releases/2022/02/220223111238.htm
futurism.com/the-byte/scientists-quantum-sensor-earth