เชื่อว่าเพื่อนๆ คงจะเคยเห็นตัวละครอย่าง “ดอกเตอร์ออกโทปุส” ในเรื่องสไปเดอร์แมน และแอบคิดสงสัยกันขึ้นมาว่า การต่ออวัยวะเพิ่มเติมขึ้นมาในร่างกายมนุษย์เช่นนี้ มันจะเป็นไปได้จริงๆ ไหม ในโลกแห่งความจริงกันมาบ้าง
ดังนั้นนี่จึงอาจจะถือเป็นข่าวดีที่น่าสนใจสำหรับหลายๆ คนเลยทีเดียว เพราะเมื่อล่าสุดนี้เอง นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ได้เพิ่งจะออกมาตีพิมพ์การวิจัยที่บอกว่า
มนุษย์เรานั้น ไม่เพียงแต่จะสามารถต่ออวัยวะจักรกลเพิ่มขึ้นมาในร่างกายได้จริงๆ เท่านั้น แต่สมองของเรายังสามารถปรับตัวให้เข้ากับการมีอวัยวะใหม่ได้ผ่านการฝึกฝน แบบสบายๆ เลยด้วย!!
เรื่องราวในครั้งนี้ ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกภายในวารสาร Science Robotics เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2021
โดยนักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายถึงการทดลองใช้ “นิ้วโป้งที่ 3” นิ้วจักรกลที่ออกแบบมาเพื่อให้เป็นนิ้วมือที่หก ซึ่งสามารถควบคุมมันได้โดยใช้เซนเซอร์ไร้สาย ด้วยการส่งแรงกดเล็กน้อยไปยังด้านใต้ของนิ้วหัวแม่เท้าของตัวเอง
ภายในการศึกษาว่าสมองของเรามีการปรับตัวอย่างไร ต่ออวัยวะที่เพิ่มขึ้นมาของร่างกาย ด้วใยการ ให้อาสาสมัครกลุ่มล่ะ 20 คน (แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม) ใช้ชีวิตประจำวัยและหยิบจับของต่างๆ โดยสวมนิ้วโป้งจักรกลไว้วันละ 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วัน
พวกเขาพบว่าอาสาสมัครกลุ่มที่ใส่นิ้วโป้งจักรกลที่ใช้งานได้จริงนั้น ทั้งหมดไม่เพียงแต่จะสามารถใช้นิ้วที่เพิ่มมาได้อย่างเป็นธรรมชาติในเวลาไม่กี่วันเท่านั้น
แต่คลื่นสมองส่วน เซนเซอร์รี่มอเตอร์คอร์เท็กซ์ (Sensorimotor cortex) ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมืออาสาสมัครยังมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายจุด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวต่ออวัยวะที่เพิ่มขึ้นมาของสมองด้วย
และที่สำคัญความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ยังสามารถถูกปรับตัวกลับจนลดลงหรือหายไปได้ ในกรณีที่อาสาสมัครไม่ได้ใช้งานนิ้วโป้งจักรกลเป็นเวลานานหลังจากการทดลองเลยด้วย
วิดีโอตัวอย่างการใช้งานของนิ้วโป้งจักรกล
“การดัดแปลงร่างกาย ในปัจจุบันถือเป็นศาสตร์ที่กำลังเติบโตโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายความสามารถทางกายภาพของเรา
แต่น่าเสียดายที่เรายัง ขาดความเข้าใจที่ชัดเจนว่าสมองของเราสามารถปรับตัวเข้ากับมันได้อย่างไร
ดังนั้น ด้วยนิ้วโป้งจักรกลอันนี้ เราจึงพยายามเป็นอย่างมากที่จะตอบคำถามสำคัญๆ อย่าง
สมองของมนุษย์สามารถรองรับอวัยวะที่เพิ่มมาได้หรือไม่
และเทคโนโลยีใหม่ๆ พวกนี้จะส่งผลต่อสมองของเราอย่างไรบ้าง”
นี่นับว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจเลย เพราะมันช่วยบอกเราได้เป็นอย่างดีว่าแม้สมองของเราอาจจะต้องปรับตัวอยู่บ้าง
แต่สมองของมนุษย์ก็อาจมีความสามารถมากพอที่จะรองรับเทคโนโลยีติดตั้ง อวัยวะเสริมให้กับร่างกายทั้งแบบชั่วคราวและถาวรมากกว่าที่เราเคยคิดไว้
และจากผลการทดลองนี้ มันก็ไม่แน่เหมือนกันว่าเราอาจจะมีโอกาสได้เห็น
“การต่ออวัยวะเสริมกับร่างกายมนุษย์”
กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้งานจริงๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ก็เป็นได้
ที่มา iflscience และ sciencemag