ก่อนหน้านี้เกิดเหตุการณ์ผู้เสียหายจำนวนมากที่ถูกหักเงินจากบัตรเดบิต บัตรเครดิต หรือบัญชีที่นำไปไปผูกกับแอพสโตร์ต่างๆ
ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาชี้แจงว่า เกิดจากการทำธุรกรรมชำระค่าสินค้าและบริการกับร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และทางธนาคารเจ้าของบัตรได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว
ล่าสุดมีความเคลื่นไวเพิ่มเติมของประเด็นนี้ เมื่อมีการออกมาเปิดเผยว่า อาจมีผู้ที่ได้รับความเสียหายมากถึง 40,000 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายมากถึง 10 ล้านบาท!
สำนักข่าวหลายสำนักรายงานว่า ขณะนี้ทางตำรวจไซเบอร์ได้ร่วมประชุมกับสภาธนาคารไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อหาความร่วมมือแก้ปัญหากรณีดังกล่าว
จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่ามีผู้เสียหายประมาณ 40,000 คน มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งผู้เสียหายจะถูกถอนเงินครั้งละจำนวนไม่มาก แต่หลายครั้ง พบยอดสูงสุดมากถึง 200,000 บาท
จากการสันนิษฐานของตำรวจพบว่าเหตุการณ์นี้อาจเกิดจาก 3 ลักษณะคือ
1. เป็นการผูกบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารเข้ากับแอพลิเคชั่นต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่นออนไลน์ และข้อมูลเกิดหลุดไปถึงแก๊งมิจฉาชีพ
2. การส่ง SMS หลอกลวง ที่จะส่งลิงก์มาตาม sms เข้ามือถือผู้เสียหาย และให้กรอกข้อมูลต่างๆ เช่น ปล่อยเงินกู้ ไปรษณีย์ไทย
3. การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตในชีวิตประจำวัน เช่น การให้บัตรพนักงานไปชำระค่าสินค้าและบริการ ในห้าง หรือการเติมน้ำน้ำมัน อาจถูกพนักงานเก็บข้อมูลเลขหน้าบัตร 16 หลัก และเลข CVC หลังบัตร 3 ตัว ซึ่งคนร้ายอาจรวบรวมข้อมูลและขายต่อในตลาดมืด
นอกจากนี้ทางตำรวจยังฝากเตือนประชาชนอย่าผูกบัตรเครดิต บัตรเดบิตกับแอพพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็นหรือไม่น่าเชื่อถือ , ไม่คลิกลิงก์ใน sms หรืออีเมล์แปลกที่ไม่รู้จัก และควรลบหรือปิดเลข CVC เลข 3 ตัวหลังบัตร เพื่อความปลอดภัยอีกด้วย
ทั้งนี้จะหารรือกับธปท.และกลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ ถึงมาตรการป้องกัน อาทิ อาจมีการลงทะเบียนร้านค้าออนไลน์ อาจปรับมาตรการแจ้งเตือนชำระสินค้าและบริการที่เป็นยอดน้อยๆ ไม่ถึงขั้นต่ำ เพื่อป้องกันการปัญหาดังกล่าว
ที่มา khaosod, komchadluek