จากกรณีข่าวการสร้างแท่นประดิษฐานและปรับปรุงภูมิทัศน์อนุสาวรีย์ ร.9 ณ ค่ายภูมิพล จ.ลพบุรี โดยมีงบโครงการที่ 60 ล้านบาท ที่เรารายงานไปก่อนหน้านี้ นั้น
ล่าสุด “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ได้ออกมาระบุว่า ข่าวดังกล่าวเป็นการบิดเบือน โดยแจงว่างบ 60 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่เงินของรัฐแต่เป็นเงินจากการบริจาค
(แม้แคทดั๊มบ์เราจะไม่ได้ระบุในข่าวว่าเป็นงบของรัฐ บอกเพียงว่าวงเงินสร้าง 60 ล้านบาท และข้อมูลอยู่บนเว็บ ACT Ai แหล่งที่รวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการรัฐ ก็ตาม)
โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระบุว่า
“แท่นประดิษฐานและปรับปรุงภูมิทัศน์พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 9 ใช้ทุนทรัพย์ที่ได้จากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาเพื่อนำมาก่อสร้าง ณ สถานที่อันสง่างามสมพระเกียรติ ให้ประชาชนได้มาสักการะ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย”
“แท่นประดิษฐานและปรับปรุงภูมิทัศน์ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ใช้ทุนทรัพย์ที่ได้จากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา เพื่อนำมาก่อสร้าง ณ สถานที่อันสง่างามสมพระเกียรติ ให้ประชาชนได้มาสักการะ ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ประชาไท ได้ระบุว่า พบกลในการชี้แจงครั้งนี้ เพราะจากที่กองทัพบกรายงานออกมาก่อนหน้านี้ไม่ได้มีระบุแหล่งที่มาของเงินเอาไว้
ประชาไท ระบุไว้ในรายงานข่าวถึงกรณีนี้เต็มๆ ว่า
“จากที่ประชาไทตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฎในสื่อออนไลน์เพิ่มเติม พบกลว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา ในรายงานข่าวของกองทัพบกเอง ที่รายงานถึงกิจกรรมกองทัพบกอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประดิษฐาน ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายภูมิพล นั้น ไม่ได้ระบุแหล่งที่มาของเงินงบประมาณในการจัดสร้าง
ระบุตอนหนึ่งเพียงว่า ‘สำหรับการอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์มาประดิษฐาน ณ ค่ายภูมิพล ในครั้งนี้ กองทัพบกได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 โดยได้รับการสนับสนุน จากกรมศิลปากรในการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมแท่นประดิษฐาน และแบบภูมิทัศน์ โดยรอบพระบรมราชานุสาวรีย์ จากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างตามกรอบเวลาจนแล้วเสร็จ โดยกรมยุทธโยธาทหารบกเป็นหน่วยควบคุมงาน’ “
ที่มา :