“โรคออทิสติก” ในทางสถิติแล้ว เป็นอาการที่มักถูกพบได้ในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึงอย่างนั้นผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็เชื่อว่าความต่างนี้ อาจไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงของผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชายเสมอไป
แต่เป็นเพราะอาการออทิสติกในหมู่ผู้เด็กผู้หญิงเป็นอะไรที่วินิจฉัยได้ยาก และมีข้อมูลอยู่น้อยมากกว่า
ดังนั้นเพื่อที่จะแก้ปัญหาการวินิจฉัยโรคออทิสติกในเด็กผู้หญิง เมื่อล่าสุดนี้เองคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จึงได้ทดลองสร้าง AI เพื่อสแกนสมองเพื่อวินิจฉัยอาการออทิสติกดู
ภายใต้ความหวังว่ามันจะสามารถวินิจฉัยอาการออทิสติกในหมู่ผู้เด็กผู้หญิงได้ดีกว่าที่เคยเป็นมา
โดยในขั้นแรกทีมงานได้รวบรวมภาพ MRI ของเด็กที่เป็นออทิสติก 773 คน มาใช้ฝึก AI โดยในจำนวนนี้ 637 รูปเป็นของผู้ชาย ในขณะที่อีก 136 รูปเป็นของเด็กผู้หญิง
ก่อนที่จะพบเรื่องน่าสนใจไม่น้อยว่า AI จะสามารถแยกภาพ MRI สมองของเด็กผู้หญิงออกจากเด็กผู้ชายได้แม่นยำถึง 86%
ทั้งๆ ที่ในการตรวจสอบภาพสแกนสมองเด็กที่ไม่เป็นออทิสติก 976 คน อัลกอริธึมตัวนี้จะแทบแยกความต่างของรูปไม่ออก
เรื่องที่เกิดขึ้น ทำให้ทีมวิจัยลงความเห็นกันว่าสมองของเด็กผู้หญิงที่เป็นออทิสติกนั้น น่าจะมีลักษณะที่ต่างออกไปจากเด็กผู้ชายที่เป็นออทิสติกอย่างมีนัยสำคัญ
และภาวะที่แตกต่างกันนี้ ก็อาจจะเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการแสดงออกของพฤติกรรมออทิสติกที่แตกต่างกันตามไปด้วย
ดังนั้นการวิจัยนี้ จึงอาจมีศักยภาพอย่างมาก ในการนำไปสู่การปรับปรุงวิธีวินิจฉัยโรคออทิสติกในสตรีต่อไปในอนาคต ซึ่งหากโชคดีวันที่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยออทิสติกในเด็กหญิงและเด็กชายได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น ก็อาจจะมาถึงในเร็วๆ นี้ก็ได้
ที่มา
www.cambridge.org/core/journals/the-british-journal-of-psychiatry/article/deep-learning-identifies-robust-gender-differences-in-functional-brain-organization-and-their-dissociable-links-to-clinical-symptoms-in-autism/33BBC9B3ADFCC28B28081368D1CE46DC
www.iflscience.com/brain/autism-diagnosis-could-improve-for-girls-as-ai-recognizes-brain-differences/
www.sciencedaily.com/releases/2022/02/220217181733.htm