สำหรับเหล่าผู้คนทั่วๆ ไป ช่วงเวลายามบ่ายคงจะถือเป็นช่วงเวลาที่แสนน่าเบื่อของวันเลย หากมีโอกาสหลายคนจึงอาจจะเลือกจะใช้เวลาดังกล่าวไปกับการ “นอนกลางวัน”
ดังนั้นนี่อาจจะถือเป็นข่าวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นักเลย เมื่อล่าสุดนี้เองนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ก็เพิ่งจะค้นพบหลักฐานใหม่ที่ว่า
การนอนกลางวันนานเกินไปนั้นอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายอย่างอัลไซเมอร์ก็ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบความเป็นไปได้นี้ จากการศึกษาข้อมูลอาสาสมัคร 1,401 คนที่มีอายุเฉลี่ย 81 ปี โดยแต่ละคนจะถูกติดตามการนอนหลับและภาวะสมองเป็นเวลานานสูงสุดร่วม 14 ปี
พวกเขาพบว่าผู้สูงอายุมักมีการงีบหลับนานขึ้นและบ่อยขึ้นตามอายุเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์จะเพิ่มอัตราการงีบหลับขึ้นจากปกติร่วม 2 เท่า
จากที่เคยงีบนานขึ้นโดยเฉลี่ยวันละ 11-24 นาที ผู้เป็นอัลไซเมอร์จะงีบนานขึ้นเฉลี่ยวันละ 68 นาทีเลย ที่สำคัญความสัมพันธ์เช่นนี้ก็ยังยังคงอยู่แม้อาสาสมัครจะปรับปริมาณและคุณภาพของการนอนหลับในเวลากลางคืนด้วย
“สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าบทบาทของการงีบหลับตอนกลางวันมีความสำคัญแยกต่างหาก และไม่ขึ้นตรงกับการนอนหลับตอนกลางคืน” ทีมวิจัยสรุป
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมอีกว่า มันอาจจะความเป็นไปได้ว่าการนอนหลับที่มากเกินไปเองจะบ่งบอกถึงโรคอื่นๆ ด้วย แม้ในจุดนี้จะยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอยู่ก็ตาม
ดังนั้น ใครที่รู้สึกว่าตัวเองงีบกลางวันนานกว่าคนอื่นนานมากๆ ก็อาจจะต้องระวังสุขภาพกันหน่อยนะ
ที่มา
alz-journals.onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/alz.12636
www.iflscience.com/brain/taking-excessive-daytime-naps-may-indicate-alzheimers-disease-suggests-study/
scitechdaily.com/vicious-cycle-discovered-between-excessive-daytime-napping-and-alzheimers-dementia/