เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเข้าใจแนวคิด “Internal narrative” กันเป็นอย่างดี นี่คือการที่คิน “ได้ยินเสียงพูด” เป็นประโยคในหัว ราวกับมีคนกำลัง “เล่าเรื่องภายในหัว” อยู่
แนวคิดนี้ จริงอยู่ว่าอาจจะเป็นอะไรที่จะสามารถอธิบายง่ายๆ ว่ามันก็คือการ “พูดในใจ” สำหรับหลายๆ และดูไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร
แต่ทราบกันหรือไม่ว่าจริงๆ แล้วในโลก ยังมีคนจำนวนมากกว่าที่คิด ที่ไม่สามารถพูดในใจได้ด้วย และคนทั้งสองกลุ่มก็มักจะไม่รู้ว่า ยังมีคนอีกกลุ่มที่มีวิธีคิดที่ไม่เหมือนตัวเองเสียด้วย
โดยคนกลุ่มที่ไม่มีการพูดในใจนั้น ส่วนมากแล้วจะมีความคิดเชิงนามธรรมที่ไม่ใช่คำพูด ซึ่งทำให้เวลาคนเหล่านี้จะพูดอะไร พวกเขาจะต้องเปลี่ยนความคิดเหล่านั้นออกมาเป็นคำพูดเองแบบตั้งใจ
อ้างอิงจากงานวิจัยในปี 2011 ดูเหมือนกว่า 75% ของคนบนโลกจะจะมีการได้ยินเสียงในหัวตามปกติ ในขณะที่คนที่เหลือจะ “คิดเป็นภาพ” หรือคิดเป็นทั้งภาพและเสียง
งานวิจัยนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การรับรู้ “เสียงในหัว” อาจจะไม่ได้แยกชัดเจนเป็นได้ยินหรือไม่ได้ยินไปเลยเสียทีเดียว แต่มีการเพิ่มลด “เป็นระดับ” ตั้งแต่ได้ยินเสียงตลอดเวลาจนถึงไม่ได้ยินเลย (และบางครั้งก็ไม่ไม่มีภาพในหัวเลยด้วย) แล้วแต่คน
เพราะแม้แต่คนหูหนวกเองก็บอกว่าตัวเองมีการได้ยินเสียงในหัวเช่นกัน เพียงแค่มันไม่ได้มาในรูปแบบ “คำพูด” ก็เท่านั้น
ดังนั้นแม้บนโลกอาจจะมีคนที่มีวิธีการคิดต่างจากเราอยู่บ้างก็ตาม ความแตกต่างนี้ก็คงเป็นแค่ความหลากหลายของมนุษย์เท่านั้น ไม่ได้เป็นปัญหาทางร่างกายของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่อย่างไร
ที่มา
www.iflscience.com/brain/people-are-weirded-out-to-discover-that-some-people-dont-have-an-internal-monologue/
nypost.com/2020/02/05/scientists-explain-the-viral-internal-narrative-phenomenon/
www.psychologytoday.com/gb/blog/pristine-inner-experience/201110/not-everyone-conducts-inner-speech
www.catdumb.tv/some-people-dont-have-an-internal-monologue-378/