ในช่วงเวลาปัจจุบัน เรื่องราวของ “โรคซึมเศร้า” ได้กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจจากสังคมขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามมันก็ยังมีเรื่องราวอีกมากเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่เรายังไม่สามารถเข้าใจได้ชัดเจนนักอยู่ดี
อย่างเมื่อล่าสุดนี้เอง ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงซาอุด ในเมืองริยาด ซาอุดีอาระเบีย ก็เพิ่งจะออกมาประกาศการค้นพบใหม่ที่สร้างความกังวลใจให้กับหลายฝ่ายไม่น้อย
เพราะพวกเขานั้น ได้ค้นพบว่า “ยาต้านโรคซึมเศร้า” ที่ใช้กันในปัจจุบันนั้น แทบจะไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ใช้ยาดีขึ้นเลย และในบางกรณียังส่งผลเสียมากกว่าผลดีด้วยซ้ำ
อ้างอิงจากงานวิจัยภายในวารสาร PLOS One นักวิทยาศาสตร์ค้นพบความจริงนี้จากการตรวจสอบข้อมูล การติดตามผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 17.47 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดทำขึ้นในช่วงปี 2005-2015
โดยพวกเขาพบว่าในบรรดาผู้ป่วยเหล่านี้มีถึง 57.6% ซึ่งใช้งานยาต้านโรคซึมเศร้า
แต่ถึงอย่างนั้น มันกลับแค่เพิ่มระดับสุขภาพจิตขึ้นในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้ระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขา ดีขึ้นจากผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาเท่าไหร่นักเลย
แน่นอนว่าแม้ผลวิจัยจะออกมาเช่นนี้มันก็ไม่ได้หมายความว่า เราควรจะเลิกใช้ยาต้านโรคซึมเศร้าโดยสิ้นเชิงไปเลย แต่มันก็อาจทำให้ฝ่ายต้องกลับมาคิดอีกครั้งว่า เราควรจะใช้ยาอย่างไรให้มีผลดีที่สุดมากกว่า
นั่นเพราะในช่วงหลังมาเริ่มมีงานวิจัยไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่ายายาต้านโรคซึมเศร้าอาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าที่เราคิด ในขณะที่วิธีการรักษาอื่นๆ ดูจะมีโอกาสดีกว่าในการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย
ดังนั้นมันอาจจะเป็นการดีกว่าหากแพทย์จะลดการพึ่งพาตัวยาลงและหันไปใช้การบำบัดอื่นๆ อย่างการออกกำลังกายให้มากขึ้นนั่นเอง
“แม้ว่าเราจะยังคงต้องให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าต่อไป
แต่การศึกษาระยะยาวเพื่อประเมินผลกระทบที่แท้จริงของรักษาคนไข้ทั้งทางเภสัชวิทยา และทางการรักษาเลือกอื่น ก็คงเป็นสิ่งที่จำเป็นกว่าที่เคยมาก ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเหล่านี้เลย” ทีมวิจัยระบุเสริม
ที่มา
https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0265928
www.sciencealert.com/antidepressants-don-t-improve-quality-of-life-massive-study-finds
futurism.com/neoscope/antidepressants-quality-life