นับว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวที่ดูจะกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในต่างประเทศไปแล้ว
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนัก ได้ออกมารายงานการแตกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกา ของภูเขาน้ำแข็งยักษ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สร้างความฮือฮาให้แก่ผู้ทราบข่าวเป็นอย่างมาก
การแยกตัวในครั้งนี้ถูกรายงานจากทางองค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA ว่าเกิดขึ้น ตั้งแต่เมื่อช่วงวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมันถูกพบเป็นครั้งแรกนักสมุทรศาสตร์ขั้วโลก และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ภูเขาน้ำแข็ง A-76 ” อีกที
ภูเขาน้ำแข็งอันนี้ เดิมทีแล้วเคยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ด้านตะวันตกของหิ้งน้ำแข็งรอนน์ (Ronne Ice Shelf) และในปัจจุบัน กำลังไหลลงสู่ทะเลเวดเดลล์
โดยส่วนที่แยกออกมามีความยาวราวๆ 170 กิโลเมตรและกว้าง 25 กิโลเมตร ทำให้มันมีพื้นที่ทั้งหมด ราวๆ 4,320 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะมายอร์ก้าของสเปน (ขนาดราว 3,640 ตารางกิโลเมตร)
และใหญ่กว่าภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดก่อนหน้านี้อย่าง A-23A (พื้นที่ราว 3,885 ตารางกิโลเมตร) เสียอีก
ภาพ GIF ขั้นตอนการแยกตัวของภูเขาน้ำแข็ง A-76
หากภาพไม่เล่นให้กดที่ภาพ
อย่างไรก็ตามเรื่องที่ค่อนข้างน่าสนใจของ ภูเขาน้ำแข็ง A-76 คือนักวิทยาศาสตร์คาดกันว่ามันอาจไม่ได้แยกตัวออกมาเพราะภาวะโลกร้อนอย่างที่ภูเขาน้ำแข็งที่เคยถูกรายงานอื่นๆ เป็น
กลับกันพวกเขาคาดว่านี่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรธรรมชาติในภูมิภาค ซึ่งจะมีน้ำแข็งก้อนใหญ่หลุดออกจากชั้นน้ำแข็งเป็นระยะๆ อยู่แล้ว
และที่สำคัญคือต่างจากธารน้ำแข็งหรือแผ่นน้ำแข็งที่หลุมมาจากบนบก ภูเขาน้ำแข็ง A-76ยังเป็นของที่ลอยอยู่ในทะเลอยู่แล้ว ดังนั้นต่อให้มันละลายไประดับน้ำทะเลก็จะไม่เพิ่มขึ้นด้วย
เช่นเดียวกับที่ต่อให้น้ำแข็งในเครื่องดื่มของเราละลาย มันก็ไม่ได้เพิ่มระดับน้ำในแก้วแต่อย่างไรนั่นเอง
New giant #iceberg breaking away from the Ronne Ice Shelf 13-05-2021 roughly 160 km x 25 km satellite image from @polarview @CopernicusEU #Sentinel1 pic.twitter.com/LmacupcuUW
— Keith Makinson (@KeithMakinson1) May 13, 2021