เรื่องของผลการเรียนนั้นสำคัญไฉน? มันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนว่าจะสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง แต่แน่นอนว่าสำหรับผู้ปกครองแล้วต่างก็คาดหวังให้ลูกหลานของตนเรียนดี ทำคะแนนได้สูงๆ เกรดเฉลี่ยน 4.0 เพื่อเป็นหน้าเป็นตาในสังคมได้
กลับกันแล้วถ้าหากว่าลูกของบุคคลระดับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังไม่ได้เรียนเก่งแบบนั้นล่ะ? จะทำหน้าพ่อแม่เสียหน้าขนาดนั้นหรือไม่?
ประเด็นดังกล่าวได้รับการเปิดใจโดย Ding Yanqing รองศาสตราจารย์บัณฑิตวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (มหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน) ที่เพิ่งจะกลายเป็นกระแสไวรัลบนโซเชียลมีเดียจีนไปเมื่อไม่นานมานี้
เขาได้พูดคุยถึงเรื่องการเคี่ยวเข็นลูกสาวของตนเองที่ไม่สามารถพัฒนาให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้นได้ แม้ว่าลูกสาวของเขาจะเป็นนักเรียนอยู่ในโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยปักกิ่งก็ตาม แต่มีผลการเรียนที่แทบจะอยู่ท้ายสุดของห้องเลยก็ว่าได้
โดยตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาพยายามคอยเข้มงวดช่วยติวหนังสือให้ลูกสาวทุกวัน คอยให้การบ้านเพิ่มเพื่อฝึกฝนหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
อาจารย์แกบอกว่าทั้งตัวเขาและภรรยาต่างเรียนจบจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งด้วยกันทั้งคู่ เรื่องเรียนเก่งนั้นไม่ต้องพูดถึง ถึงขั้นบอกว่าตัวเองเป็นอัจฉริยะเพราะว่าสามารถจำคำศัพท์ภาษาจีนในพจนานุกรมได้ตั้งแต่ 6 ขวบ
แต่เมื่อมาถึงรุ่นลูกสาวแล้ว เขาต้องยอมรับความกับความจริงหนึ่งอย่างว่าลูกสาวของเขานั้น ไม่ได้เป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนโดดเด่นดีเลิศเหมือนอย่างพ่อแม่
เขาถึงกับเอ่ยว่าคะแนนของลูกสาวกับที่เกือบโหล่ที่สุดในห้องนั้นยังห่างกันแทบเทียบกันไม่ติดเลยด้วยซ้ำ
“ลูกสาวของผมไม่ได้เป็นเด็กที่เลิศอะไรหอก ไอคิวของเธอนั้นห่างไกลกับเราทั้งสองคนมาก ผมจะทำอะไรได้ล่ะถ้าไม่ยอมรับความจริงตรงนี้?”
จนในที่สุดแล้วอาจารย์ก็หยุดใช้วิธีกดดันลูกสาว และเลือกที่จะสนับสนุนจุดแข็งด้านอื่นๆ ของลูกสาวมากกว่า จริงอยู่ที่การช่วยติวหนังสือของพ่อช่วยทำให้ลูกมีผลการเรียนดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยอาการขี้กังวลกับซึมเศร้า เพราะการกดดันลูกมากเกินไปจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อถดถอยลงไป
“เด็กทุกคนมีความพิเศษในตัวเอง ในฐานะพ่อแม่ เราไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันเพื่อไปวัดกับเด็กทุกคนไม่ได้หรอก”
อาจารย์เชื่อว่าวิธีที่ดีกว่าก็คือการค้นหาและพัฒนาจุดแข็งของเด็กที่มีอยู่ในตัวอยู่แล้ว ถึงจะเรียนไม่เก่งแต่ก็ยังสามารถทำคุณประโยชน์ให้สังคมได้เหมือนกัน
จากคลิปที่กลายเป็นไวรัลในโซเชียลมีเดียจีนสามารถทำยอดวิวได้สูงถึง 470 ล้านครั้ง ชาวเน็ตเองต่างก็ชื่นชมแนวคิดของอาจารย์
ซึ่งทำให้พอได้รับรู้บ้างว่าขนาดอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชื่อดัง ยังเจอปัญหาแบบนี้เหมือนกับพ่อแม่ที่เป็นชาวบ้านคนทั่วไปเลย บ้างก็เห็นด้วยว่านี่คือความจริงที่เกิดขึ้นในสังคม
ในขณะที่บางส่วนเองก็ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่อาจารย์พูดในช่วงที่ปล่อยผ่านเรื่องผลการเรียน เพราะการพูดนั้นง่าย แต่ทำได้ยากสำหรับพ่อแม่อีกหลายคนในประเทศจีน
ที่มักจะเข็มงวดเคี่ยวเข็นบุตรหลานของตัวเองให้เรียนดีเพื่อไปใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำ และเชื่อว่าจะเป็นใบเบิกทางสู่หน้าที่การงานที่ดีในอนาคต