ในช่วงเวลาที่โรคโควิด-19 กำลังกลายเป็นประเด็นสำคัญของมนุษยชาติเช่นนี้ เชื่อว่าไม่ใครก็คงจะกำลังให้ความสนใจข้อมูลแทบทุกอย่างของวงการวัคซีนโรคโควิดเป็นแน่
แต่ทราบกันหรือไม่ว่าในวงการวัคซีนทางการแพทย์นั้น นอกจากวัคซีนโควิดแล้ว ในปัจจุบันเราก็กำลังมีวัคซีนที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองพอๆ กันอยู่อีกตัว เพราะนี่คือวัคซีนที่อาจจะช่วยชีวิตผู้ป่วยมะเร็งไว้หลายต่อหลายคนเลย
วัคซีนที่กำลังเป็นที่พูดถึงที่ว่านี้ มีชื่อว่า BNT111 วัคซีน “โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา” ผลงานจากบริษัท BioNTech เจ้าของร่วมของผลงานวัคซีน Pfizer-BioNTech ที่ใช้ป้องกันโรคโควิด-19
โดยเจ้าวัคซีน BNT111 นั้น ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยี mRNA เทคโนโลยีผลิตวัคซีนจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค ไม่ใช่การใช้ไวรัสที่ตายไปแล้วตามปกติ และกำลังเป็นเริ่มเป็นที่รู้จัก จากความสำเร็จของ วัคซีน Pfizer-BioNTech และ Moderna
เจ้าวัคซีน BNT111 นั้น ในปัจจุบันกำลังเป็นที่น่าจับตามองเนื่องจาก ในการทดลองเฟสหนึ่ง มันสามารถกระตุ้นการตอบสนองของแอนติบอดีต่อเซลล์มะเร็งได้ดีมาก
โดยมันสามารถมอบข้อมูลของเซลล์มะเร็งผิวหนังเมลาโนมาต่อแอนติเจนได้สูงถึงขนาดที่บางกรณีแอนติเจนมากถึง 90% เลยในร่างกายผู้รับวัคซีน จะได้รับข้อมูลของเซลล์มะเร็งผิวหนังไป เรียกได้ว่านำมาซึ่งตัวแอนติบอดีที่แข็งแกร่ง และปลอดภัยมากๆ
ดังนั้นในปัจจุบันวัคซีน BNT111 จึงได้กำลังดำเนินการทดลองเฟส 2 ด้วยการนำวัคซีนไปทดลองกับคนไข้โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาจำนวน 120 คนอยู่
โดยหากกำหนดการไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทีมวิจัยจะได้รับผลการทดลองเบื้องต้นภายในเดือน พฤษภาคม ปี 2022 ในขณะที่การทดลองทั้งหมดจะเสร็จสิ้นใน พฤษภาคม ปี 2023
และทีมวิจัยเองก็ค่อนข้างมั่นใจเลยว่าผลงานของพวกเขาจะผ่านการทดลองด้วยดี สามารถนำไปใช้งานจริงได้ในอนาคตอันใกล้
นี่นับว่าเป็นอีกความสำเร็จที่น่าจับตาของ บริษัท BioNTech เลยทีเดียว แต่นี่ก็ไม่ใช่โปรเจกต์เพียงตัวเดียวที่ BioNTech กำลังพัฒนาแต่อย่างไร
นั่นเพราะจากการพัฒนาเทคโนโลยี mRNA ในปัจจุบันบริษัท BioNTech ก็ยังมีวัคซีนรูปแบบนี้อยู่ในขั้นตอนการทดลองภายใต้โครงการ FixVac อีกหลายตัว
แถมในจำนวนนั้น วัคซีนอย่าง BNT112 ที่ออกแบบมาเพื่อรักษาเชิงทดลองกับมะเร็งต่อมลูกหมาก และวัคซีน BNT113 ที่ออกแบบมาเพื่อรักษามะเร็งศีรษะและลำคอจากเชื้อ HPV ก็ในปัจจุบันก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองเฟส 1 แล้วเช่นกัน
ที่มา iflscience และ clinicaltrials