เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่าสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดในโลกนั้นบางครั้งก็ สามารถมีรูปแบบ DNA ที่คล้ายกันได้ อย่างคนกับ “กล้วย” เอง ก็มีความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมมากถึงราว 50% เลย
แต่เคยสงสัยกันไหมว่าจริงๆ แล้วมี เรามีจีโนมมากแค่ไหนกันที่จะถูกพบเฉพาะในมนุษย์ปัจจุบันเท่านั้น? อะไรกันที่ช่วยแบ่งแยกเราจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ
นั่นเพราะจากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าแท้จริงแล้ว เราจะมีจีโนมแค่ราวๆ 1.5% เท่านั้นเอง ที่ถูกพบเฉพาะในมนุษย์ปัจจุบัน
ตัวเลขนี้อาจจะดูน้อยมากๆ แต่มันก็มีเหตุผลลองรับอยู่ นั่นคือมนุษย์โฮโมเซเปียนส์นั้นมีจีโนมหลายส่วนซึ่งเป็นตัวเดียวกับมนุษย์อีกสายพันธุ์ในอดีตอย่าง “มนุษย์นีแอนเดอร์ทัล” และ “มนุษย์เดนิโซแวนส์”
โดยจากการนำจีโนมมนุษย์สมัยใหม่ 279 ชุดไปเทียบกับมนุษย์ในอดีต นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าเรามีจีโนมราวๆ 7% ที่ไม่มีสัญญาณของการผสมข้ามพันธุ์หรือถูกพบมาก่อน
และในจำนวนนี้มีจีโนมแค่ราวๆ 1.5% เท่านั้น ที่มนุษย์ปัจจุบัน “ทุกคนมี” แต่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในมนุษย์โบราณ
แน่นอนว่า 1.5% อาจจะเป็นจำนวนที่น้อยสำหรับหลายๆ คน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็บอกว่านี่เป็นความแตกต่างที่สำคัญมาก นั่นเพราะจีโนมเหล่านี้ ต่อมาถูกพบว่าล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมองและการทำงานของสมองทั้งสิ้น
ซึ่งนั่นหมายความว่า ความแตกต่างของจีโนมเหล่านี้นั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรากลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาสูงแบบที่มนุษย์โบราณและสัตว์อื่นๆ ไม่สามารถทำได้มาก่อนเลย
ดังนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลยที่เราจะบอกว่า การพัฒนาของสมองนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากบรรพบุรุษอย่างแท้จริง ไม่เพียงแค่ในทางอารยธรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงในด้านพันธุกรรมด้วยนั่นเอง
ที่มา
www.livescience.com/human-genome-unique-neanderthals.html
advances.sciencemag.org/content/7/29/eabc0776