ห่างออกไปจากโลกราวๆ 480 ล้านปีแสง ภายในอวกาศอันกว้างใหญ่ นักวิทยาศาสตร์ได้พบกับเรื่องราวประหลาด เมื่อในปี 2017 เสาอากาศ 27 ตัวของ กล้องโทรทรรศน์ในนิวเม็กซิโก สามารถจับสัญญาณซูเปอร์โนวาแบบใหม่ซึ่งไม่เคยถูกพบมาก่อนในอดีต
และเมื่อตามรอยสัญญาณซูเปอร์โนวาดังกล่าวไปนักวิทยาศาตร์ก็พบว่าซูเปอร์โนวาดังกล่าว อาจจะเกิดจากการที่ “หลุมดำ” ดูดกลืนดาวแคระจากภายในราวกับเป็นปรสิตกัดกินเหยื่อในตัวเลยด้วย
เรื่องในครั้งนี้ถูกสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อราวๆ 300 ปีก่อน ที่กลุ่มดาวแบบระบบดาวคู่ (Binary Star) ซึ่งมีดาวฤกษ์ 2 ดวง โคจรรอบกันเอง โดยในเวลานั้นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งได้ยุบตัวกลายเป็นหลุมดำ ในขณะที่อีกดวงยังคงโคจรอยู่ในขณะที่ค่อยๆ ถูกหลุมดำดูดพลังงานไปด้วย
ปัญหาคือเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ ไม่นานนักวงโคจรของดาวฤกษ์ดวงที่เหลือไปทับกับหลุมดำก่อนที่มันจะถูกดูดพลังงานไปหมด ส่งผลให้หลุมดำเคลื่อนที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และกัดกินดวงดาวจากภายใน
ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนแต่จะเร่งการยุบตัวของดาวที่เหลืออยู่จนเกิดเป็นซูเปอร์โนวาอีกครั้ง
นี่นับว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจเลยทีเดียวเพราะถ้าแนวคิดดังกล่าวเป็นจริง มันจะเป็นหลักฐานต่อทฤษฎีการมีอยู่ของ ซูเปอร์โนวาหายากที่ชื่อ “ซูเปอร์โนวาแบบรวมตัว” (merger-triggered supernova) แถมยังอธิบายสัญญาณแบบใหม่ที่ถูกพบไปพร้อมๆ กันเลย
และแม้ว่าแนวคิดนี้จะยังคงต้องได้รับการพิสูจน์อีกมาก แต่มันก็ถือเป็นหลักฐานอย่างดีเลยว่าในอวกาศนั้นสยังมีเรื่องลึกลับให้เราค้นหาอีกมากจริงๆ
ที่มา
futurism.com/the-byte/parasite-black-hole-eats-star
www.science.org/doi/10.1126/science.abg6037
www.newsweek.com/star-explodes-black-hole-devours-inside-1625720