เมื่อพูดถึงผืนป่า ตามปกติแล้วเราก็มักจะนึกถึงสถานที่ซึ่งเป็นดั่งปอดของโลก ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนมันเป็นออกซิเจนขึ้นมาเป็นอย่างแรกๆ
อย่างไรก็ตามจากรายงานชิ้นใหม่ขององค์การ UNESCO และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ดูเหมือนว่าป่าที่น่าจะเป็นที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นั้น ในปัจจุบันบางแห่งจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าดูดซับแล้ว!!
ในรายงานครั้งนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการสำรวจป่ามรดกโลกทั้งด้วยการเข้าไปสำรวจและจากภาพดาวเทียม ก่อนที่จะนำมันไปเปรียบเทียบกับข้อมูลตลอดช่วงปี 2001-2020 และพบว่า
ภายในป่ามรดกโลก 257 แห่งซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโดย UNESCO นั้น มีป่าอย่างน้อย 10 แห่งแล้ว ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าที่มันดูดซับเข้าไป
โดยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากป่าที่กล่าวถึงนี้ มีสาเหตุหลักๆ มาจาก การผสมผสานระหว่างการตัดไม้ ผลกระทบของการเกษตร และไฟป่า ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือโดยฝีมือมนุษย์เป็นหลัก
และสถานที่ซึ่งมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในป่าเหล่านี้ก็ได้แก่ ป่าฝนเขตร้อนของเกาะสุมาตรา ที่อินโดนีเซีย ซึ่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้วถึง 4.2 ล้านตัน แต่กลับสามารถดูดซับมันได้แค่ 1.2 ล้านตันนั่นเอง
นั่นว่าเป็นโชคดีมากที่เมื่อเทียบกับป่ามรดกโลกที่เหลืออยู่ในปัจจุบันป่ามรดกโลกจะยังคงดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าที่จะปล่อยออกมาอยู่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามนี่ก็แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของมนุษย์ต่อผืนป่าโลกได้เป็นอย่างดี
นั่นเพราะหากแม้แต่ป่ามรดกโลกที่ควรจะถูกคุ้มครองยังมีบางส่วนที่ถูกรุกล้ำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ
มันก็คงไม่น่าแปลกใจเลยที่ในอนาคตเราจะมีป่าอีกมากมายหลายแห่งเลย ที่จะถูกทำร้ายจนมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าที่มันดูดซับเข้าไปในรูปแบบเดียวกัน
ที่มา
www.theguardian.com/environment/2021/oct/27/wildfires-deforestation-and-global-heating-turn-10-unesco-forests-into-carbon-sources-aoe
www.reuters.com/business/cop/wildfires-logging-turn-protected-forests-into-carbon-emitters-report-2021-10-27/
gizmodo.com/the-10-unesco-world-heritage-forests-that-humans-ruined-1847956896