มันเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้งว่าตัวตนของมนุษย์เรานั้น ในปัจจุบันได้มีผลกระทบไปทั่วทุกที่ของโลกใบนี้แล้ว ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากตัวตนของขยะพลาสติก ที่ถูกพบได้แม้ลึกลงที่ร่องลึกมาเรียนาจุดที่ลึกที่สุดในโลก
แต่เชื่อกันหรือไม่ ว่าตัวตนของพวกเรานั้น จริงๆ แล้วอาจมีผลกระทบถึงขั้นการวิวัฒนาการของจุลินทรีย์แล้ว
เมื่อล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Chalmers ในสวีเดน ได้ตรวจสอบ พบยีนนับ 200 ล้านตัวจาก DNA สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมทั่วโลก และพบเอนไซม์ถึง 30,000 ชนิด ที่มีความสามารถย่อยพลาสติกได้ 10 แบบขึ้นไป
นี่ถือเป็นการประเมินศักยภาพในการย่อยสลายพลาสติกของแบคทีเรียระดับโลกครั้งแรกเลยก็ว่าได้
และจากในงานทดลองนี้นักวิทยาศาสตร์ก็พบด้วยว่า 1 ใน 4 ของแบคทีเรียในปัจจุบัน มีความสามารถในการสร้างเอนไซม์ย่อยพลาสติก แถมประเภทเอนไซม์ของมันยังเปลี่ยนไปตามประเภทของพลาสติกที่ถูกพบบ่อยๆ ในพื้นที่ด้วย
ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดีที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของมลพิษพลาสติกต่อระบบนิเวศของจุลินทรีย์ทั่วโลกเลย
“เราไม่ได้คาดคิดมาก่อนเลยว่าจะพบเอนไซม์จำนวนมากเช่นนี้ในจุลินทรีย์และแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันขนาดนี้ นี่เป็นการค้นพบที่น่าประหลาดใจที่แสดงให้เห็นสเกลของปัญหาอย่างแท้จริงเลย”
Jan Zrimec จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Chalmers กล่าว
นี่อาจจะฟังดูเป็นข่าวที่น่าใจหาย แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ถือว่าเป็นข่าวดีเช่นเดียวกัน เพราะการศึกษาจุลินทรีย์เหล่านี้ อาจช่วยให้เราพบจุลินทรีย์ตัวใหม่ที่เหมาะสมกับการย่อยพลาสติกแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยนั่นเอง
ที่มา
www.theguardian.com/environment/2021/dec/14/bugs-across-globe-are-evolving-to-eat-plastic-study-finds
thehill.com/changing-america/sustainability/environment/585802-new-study-shows-microbes-are-evolving-to-eat
www.ctvnews.ca/climate-and-environment/microbes-across-the-globe-are-evolving-to-eat-plastic-pollution-1.5708635