หากเรากล่าวถึงเหตุการณ์หายนะที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชื่อว่านอกจาก “เชอร์โนบิล” แล้ว หลายคนก็คงจะนึกถึงภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่ “ฟุกุชิมะ” ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2011 เป็นอย่างแรกๆ
แต่เคยสงสัยกันไหมว่าตั้งแต่ที่เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ขึ้นมา สภาพภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชินั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเช่นไรบ้าง
เพราะล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์ก็เพิ่งจะออกมาเปิดเผยภาพชุดแรกของบรรยากาศภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังเกิดหายนะออกมาแบบสดๆ ร้อนๆ เลย
อ้างอิงจากข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยออกมา สิ่งที่เห็นในภาพนี้คือเชื้อเพลิงนิวเคลียร์น้ำหนักราวๆ 900 ตันที่ละลายออกมาจากเตาปฏิกรณ์ 3 ตัวของโรงงาน
ซึ่งเกิดขึ้นในตอนที่ระบบทำความเย็นของฟุกุชิมะได้รับความเสียหาย จนเตาปฏิกรณ์ได้หลอมละลาย และเชื้อเพลิงกัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่ได้ไหลลงไปยังด้านล่างของห้องกักกันอีกที
โดยตัวตนของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่รั่วออกมาเหล่านี้ ได้ทำให้ที่ผ่านมาการเข้าไปถ่ายรูปข้างในก็เป็นไปได้ยากมาก เพราะไม่เพียงตัวโรงไฟฟ้าจะเสียหายเข้าถึงยากเท่านั้น แต่ปริมาณรังสีในพื้นที่ยังสูงมากจนมนุษย์ที่เข้าไปอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้
ถึงขนาดที่ว่าแม้แต่หลังเหตุการณ์ กว่าครึ่งทศวรรษ การสำรวจที่จัดขึ้นในปี 2017 ก็ยังประสบความล้มเลวเลย
แน่นอนว่าด้วยปริมาณรังสีที่มากขนาดนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นก็คาดว่าพวกเขาคงจะต้องใช้เวลานานถึงราวๆ 30-40 ปีเลยกว่าที่จะจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ละลายออกมาได้หมด
แถมการจัดการรังสีของพวกเขาก็นำมาซึ่งข้อกังขาไม่น้อยด้วย เพราะพวกเขาเลือกที่จะใช้วิธีขุดอุโมงค์ใต้น้ำเพื่อทิ้งน้ำกัมมันตภาพรังสีไว้ใต้ทะเล ซึ่งแม้จะเป็นเป็นการกระทำที่ทำนึงถึงสิ่งแวดล้อมโดยรอบอย่างดี แต่ก็สร้างความไม่สบายใจไม่ใช่น้อย
และมันก็คงต้องใช้เวลาอีกนานเลยกว่าที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในเวลานั้นจะหายไปหมดอย่างแท้จริง