สำหรับหลายๆ ประเทศในปัจจุบัน “ระบบบำบัดน้ำเสีย” ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศที่แหล่งน้ำจืดหาได้ยาก แต่ถึงอย่างนั้นการบำบัดน้ำบ่อยครั้งก็มักจะนำมาซึ่งผลข้างเคียงเป็นของเสียที่มีพิษสูงเช่นกัน
ดังนั้นนี่จึงอาจจะถือเป็นข่าวดีไม่น้อยของโลกเลย เมื่อล่าสุดนี้เองมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ออกมาประกาศว่า
พวกเขาค้นพบค้นพบวิธีที่จะนำของเสียจากการบำบัดน้ำเสียมาเปลี่ยนเป็นทรัพยากรในวงการเกษตร และอิเล็กทรอนิกส์แล้ว และมันก็อาจจะนำมาซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย
อ้างอิงจากรายงานในวารสาร ACS ES&T Engineering หนึ่งในการบำบัดน้ำที่ได้ผลดีในปัจจุบันมีชื่อว่า “ระบบบ่อกรองไร้อากาศ” (Anaerobic Filter)
ซึ่งเป็นกระบวนการให้น้ำเสียที่ไหลผ่านตัวกรองที่เต็มไปด้วยสารชีวมวล เพื่อดักจับและย่อยสลายของแข็งและอนุภาคที่ไม่ต้องการในน้ำ
กระบวนการนี้ในอดีตมีจุดอ่อนสำคัญตรงที่มันจะทำให้เกิดซัลไฟด์ที่เป็นพิษจำนวนมาก และยากต่อการจัดการ
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าหากเราใช้ไฟฟ้าเคมีรูปแบบเฉพาะ ทำให้ซัลไฟด์เกิดกระบวนการออกซิเดชัน เราจะสามารถทำให้ซัลไฟด์ที่เกิดจากน้ำเสียเหล่านี้กลายเป็นสารที่มีประโยชน์เช่น “กรดซัลฟิวริก” อันเป็นส่วนประกอบปุ๋ยในการเกษตร และแบตเตอรี่ได้
ความสำเร็จนี้ทำให้หลังจากมีการปรับกระบวนการไปสักพัก พวกเขาก็ออกมากล่าวอย่างมั่นใจว่าหากนำระบบนี้ไปขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียน เราจะสามารถนำมันไม่ใช้ในวงกว้างเพื่อช่วยระบบบำบัดน้ำให้คนทั้งเมืองได้ไม่ยาก
และหากเรานำมันไปใช้ร่วมกับเทคนิคการบำบัดอื่นๆ ซึ่งมีการจับไนโตรเจน ระบบนี้ก็จะสามารถปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตได้โดยตรงเลยด้วย
ดังนั้นในปัจจุบันทีมงานจึงหวังเป็นอย่างมากว่าพวกเขาจะสามารถปรับปรุงกระบวนการนี้ให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ขึ้นไปอีก และนำมันไปใช้งานจริงๆ ในอนาคต เพื่อที่ในที่สุดเราจะได้ใช้ผลข้างเคียงของการบำบัดน้ำให้เป็นประโยชน์เสียที
ที่มา
pubs.acs.org/doi/full/10.1021/acsestengg.1c00376
news.stanford.edu/2022/03/02/sewer-treasure/
youtu.be/pFEOR9E01iA
www.iflscience.com/technology/nuggets-of-treasure-new-process-may-turn-sewage-into-valuable-chemicals/