ด้วยเทคโนโลยีการตัดต่อยีนที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มก็เริ่มที่จะท้าทายปัญหาเรื่องจรรยาบรรณทำการทดลองที่เรียกว่า “CRISPR babies” หรือ “เด็กตัดต่อยีน” กันบ้างแล้ว
เช่นในข่าวการตัดต่อยีนแฝดหญิง 2 คน ของนักวิทยาศาสตร์จีน He Jiankui ซึ่งเมื่อปี 2018 กลายเป็นประเด็นถกเถียงรุนแรงของวงการแพทย์มาแล้ว
ดังนั้นเมื่อล่าสุดนี้เอง เพื่อรับการมาของเด็กรุ่นใหม่ในอนาคต นักวิจัยในจีนหลายคนไม่น้อย จึงออกมาบอกว่ามันอาจจะถึงเวลาแล้วก็ได้ที่เราจะมี “สถานที่พิเศษ” เอาไว้การดูแลและศึกษาเด็กดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้โดยเฉพาะ
อ้างอิงจากบทความของคุณ Qiu Renzong ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาจากสถาบันสังคมศาสตร์จีน และคุณนักชีวจริยธรรมที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจง
พวกเขาเชื่อว่าในกระบวนการแก้ไขยีน อาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่ายและสังเกตได้ยาก จีโนมของเด็กเหล่านี้จึงควรได้รับการจัดลำดับและวิเคราะห์หา “ความผิดปกติ” อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อการที่จะดำเนินการเช่นนี้อย่างมีประสิทธิภาพ มันจึงน่าจะเป็นเรื่องดีกว่าถ้าเราจะมีสถานที่ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรับหน้าที่นี้โดยเฉพาะ
ดังนั้นนักวิจัยทั้งสองจึงยืนข้อเสนอให้จัดตั้ง “ศูนย์วิจัย” และจัดสรรเงินทุนเพื่อดูแลเพื่อดูแล และปกป้องเด็กๆ เหล่านี้ อย่างเป็นทางการ
นี่ถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย แต่ในขณะเดียวกันข้อเสนอของพวกเขาก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงของชุมชนด้านสุขภาพระหว่างประเทศอยู่เช่นกัน
เพราะหลายฝ่ายดูจะกังวลไม่น้อยว่าการจัดตั้งระบบติดตามตรวจสอบยีนเช่นนี้ อาจบุกรุกความเป็นส่วนตัวของเด็กโดยไม่จำเป็นได้
ถึงอย่างนั้นก็ตามด้วยแนวโน้มที่ว่าในอนาคตโลกของเราจะมีเด็กตัดต่อยีนเกิดขึ้นมาอีกหลายคน แนวคิดนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังในสักวันเลยอยู่ดี
มันจึงอาจจะดีกว่าก็ได้หากเราจะเตรียมการรับมือเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นเช่นนี้เอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
ที่มา
www.nature.com/articles/d41586-022-00512-w
www.scmp.com/news/china/science/article/3169003/scientists-call-china-protect-worlds-first-gene-edited-babies
futurism.com/neoscope/facility-gene-hacked-children