ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ในปัจจุบันเราจะสามารถเห็นปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ถูกนำไปใช้งานได้ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนคุยเฉยๆ หรือควบคุมอุตสาหกรรมสำคัญของโลก
แต่ใครจะไปคิดว่าเมื่อไม่นานมานี้ AI จะต้องถูกนำมาใช้รับฟัง “คนเมายา” นั่งเล่าความรู้สึกของตัวเองกัน
แต่มันก็เกิดขึ้นจริงๆ แล้วในงานวิจัยของ 2 นักวิจัยและจิตแพทย์ คุณ Daniel S. Barron และ Richard A. Friedman ซึ่งต้องการทำความเข้าใจผลของยา 27 ชนิด (ซึ่งรวมถึงแอลเอสดีและคีตามีน) ต่อสมองและสุขภาพจิตของมนุษย์
เพื่อเป้าหมายนี้ทั้งสองจึงได้ทำการทดลองให้ AI ศึกษา “รายงาน” ที่เขียนขึ้นโดยผู้ใช้ยาที่มีผลทางประสาทร่วม 7,000 ชิ้น
ก่อนที่จะใช้วิธีการวัดโครงสร้างภาษาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ที่ผู้ใช้ยาพบเช่น “อวกาศ” “จักรวาล” “สติ” หรือ “มิติ” เข้ากับสารหลอนประสาทชนิดต่างๆ
พวกเขาเชื่อว่าวิจัยนี้จะช่วยให้นักวิจัย ค้นพบการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และ PTSD ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ป่วยเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่ให้การตอบสนองเชิงบวกอย่างมากต่อยาแก้ซึมเศร้า
ดังนั้นทีมวิจัยจึงคิดว่าการทำความเข้าใจว่ายาตัวใดส่งผลต่อผู้คนแบบไหนบ้าง จะช่วยให้หมอเลือกยาให้กับผู้ป่วยได้แม่นยำมากขึ้นในอนาคตนั่นเอง
และแม้ว่าการต้องมานั่งฟังคนเมายาเราประสบการณ์อาจจะฟังดูไม่ใช่เรื่องที่น่าอภิรมย์นัก แต่การนำ AI มาใช้งานในรูปแบบนี้ก็ถือเป็นอะไรที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลย
ที่มา
www.science.org/doi/10.1126/sciadv.abp8283
www.newscientist.com/article/2312350-ai-analyses-drug-users-trip-reports-to-better-understand-psychedelics/
futurism.com/neoscope/ai-trip-reports-drugs