สำหรับคนที่มีโอกาสติดตามข่าววิทยาศาสตร์หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้าง ว่าในปัจจุบันเราสามารถพบชิ้นส่วนของพลาสติกได้แม้แต่ในชิ้นเนื้อ อวัยวะ และเลือดของมนุษย์แล้ว
(อ่านข่าวนี้ได้ที่: www.facebook.com/CatDumbNews/photos/a.738940689482056/5197715670271180/)
แต่เคยสงสัยกันไหมว่าพลาสติกเหล่านี้มันเข้าไปในร่างกายของเราแต่อย่างไร? และมนุษย์เรารับพลาสติกเข้าไปขนาดนั้นจริงๆ เหรอ? เพราะล่าสุดนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยการแพทย์เวียนนาก็เพิ่งจะค้นพบว่า
มนุษย์เราจะบริโภค “อนุภาคไมโครและนาโนพลาสติก” (MNPs) เข้าไปต่างๆ มากถึงเกือบ 5 กรัมต่อสัปดาห์ หรือพอๆ กับน้ำหนักของบัตรเครดิตได้เลย และในจำนวนนี้หลายส่วนไม่น้อยก็มาจากน้ำดื่มด้วย
โดยในงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Exposure and Health นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า
คนที่ดื่มน้ำโดยเฉลี่ยวันละ 1.5-2 ลิตรจากขวดพลาสติก จะได้รับอนุภาคพลาสติกเข้าไป โดยเฉลี่ยถึง 90,000 หน่วย ซึ่งอาจเพิ่มลดได้แล้วแต่ประเภทของขวด ยี่ห้อน้ำ และพื้นที่อยู่อาศัย
โดยตัวเลขนี้ ถูกระบุโดยนักวิทยาศาสตร์ว่าจะสามารถลดลงได้มากถึง 50,000 หน่วย หากผู้คนหันไปดื่มน้ำจากแหล่งที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพลาสติก เช่นน้ำประปา (ซึ่งคงจะเป็นไปได้ยากในหลายประเทศ รวมถึงไทย)
จริงอยู่ว่าในปัจจุบันเราจะยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดนักว่า การมีอนุภาคพลาสติกมากขนาดนี้ในตัวจะเป็นอันตรายหรือไม่
แต่การค้นพบค้นพบดังกล่าวก็สร้างความไม่สบายใจแก่นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อย เพราะเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหารเช่นนี้ก็อาจจะสงผลกระทบต่อสุขภาพคนได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีโรคเรื้อรังอยู่แล้ว
ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงออกมาเรียกร้องว่าเราจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของอนุภาคพลาสติกต่อผู้คนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะปัญหาเช่นนี้ถือเป็นเรื่องที่ดูจะเริ่มเร่งด่วนขึ้นทุกวันแล้วนั่นเอง
ที่มา
link.springer.com/article/10.1007/s12403-022-00470-8
www.meduniwien.ac.at/web/en/ueber-uns/news/default-0f889c8985-1/gesundheitsrisiko-durch-mikro-und-nanoplastik-in-lebensmitteln/
futurism.com/neoscope/humans-eat-staggering-plastic-per-week
nypost.com/2022/03/30/youre-eating-a-credit-cards-worth-of-plastic-a-week-and-its-killing-your-gut/